Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel
  • High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยบริการที่ซื่อสัตย์และคุณภาพเป็นเลิศ

  • Corporate & Commercial Advisory Services

    Corporate & Commercial Advisory Services

    บริการที่ปรึกษาสำหรับองค์กรและการพาณิชย์

  • IT-Enabled case/matter management process

    IT-Enabled case/matter management process

    ระบบการทำงานที่ทันสมัย โดยการนำเอาระบบ IT มาช่วยบริหารคดี

  • Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวสำหรับผู้บริหาร หรือที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว

  • Business Consulting & Educational Services

    Business Consulting & Educational Services

    บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และ การฝึกอบรมสัมนา

  • More than 20 alliances across the globe

    More than 20 alliances across the globe

    การมีพันธมิตรที่พร้อมให้บริการมากกว่า 20 ประเทศ

สัญญาบัตรเครดิต

 

เขียนโดย- คุณ สุภาวิณี เชี่ยวชาญ บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปเรชั่น จำกัด โทร 021717617

         สัญญาบัตรเครดิต (Credit Card)   คือ   สัญญาระหว่างธนาคาร ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน รวมทั้งบริษัทในเครือของธนาคาร  กับ    ผู้สมัครบัตรเครดิต โดยธนาคารจะออกบัตรเครดิตให้แก่ผู้สมัครบัตรเครดิต  เพื่อให้นำบัตรเครดิตไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและสถานบริการต่างๆที่เป็นสมาชิกของธนาคารหรือบริษัทเจ้าของบัตรเครดิต  หรือ  ถอนเงินจากเครื่องอัตโนมัติ    โดยธนาคารซึ่งเป็นเจ้าของบัตรบัตรเครดิตนั้นจะเป็นผู้ชำระเงินแทนให้ไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้สมัครบัตรเครดิตในภายหลังเมื่อครบกำหนดชำระเงิน   โดยจะเรียกเก็บคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราค่อนข้างสูง  และค่าธรรมเนียมอื่นๆเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ธนาคารได้ชำระเงินแทนให้ไปก่อน  

การคำนวณดอกเบี้ยของธนาคาร   โดยปกติจะได้รับเครดิตประมาณ 45-55 วัน (ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย)  ขึ้นอยู่กับธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต    ซึ่งเมื่อพ้นระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยแล้ว   ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะอยู่ที่ประมาณ 20% ต่อปีกรณีใช้บัตรเครดิตในการจับจ่ายใช้สอย แต่ถ้าหากใช้ในลักษณะของการเบิกถอนเงินสดออกมามักจะเสียดอกเบี้ยสูงขึ้นประมาณ 25-28%   เนื่องจากสามารถนำเงินสดไปลงทุนหรือใช้จ่ายต่างๆได้ทันที   

ช่วงระยะเวลาใดจะเป็นระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยนั้น   ให้สังเกตจาก ใบแจ้งยอดการใช้จ่ายบัตรเครดิต/ใบกำกับภาษี   ในช่องสรุปยอดเงินถึงวันที่ (CLOSING DATE)   และ   ช่องกำหนดชำระเงินในวันที่   (PAYMENT  DUE  DAT )  กล่าวคือ  ระยะระหว่างวันสรุปยอด (CLOSING DATE)   จนถึงวันครบกำหนดชำระ  คือ  วันปลอดค่าติดตามทวงถามเท่านั้น  ไม่ใช่วันปลอดดอกเบี้ยเสมอไป   ตัวอย่างเช่น  สรุปยอดเงินถึงวันที่ 9/8/13 กำหนดชำระเงินในวันที่ 24/8/13  ดังนั้นวันสรุปยอดคือทุกวันที่ 9 ของแต่ละเดือนและครบกำหนดชำระคือ ทุกวันที่ 24 ของเดือนเดียวกัน    ซึ่งถ้าราใช้บัตรเครดิตภายในวันที่  9  เราจะต้องชำระคืนในวันที่ 24 ในเดือนเดียวกัน (เดือน 8) ระยะปลอดดอกเบี้ยมีแค่ 15 วัน แต่ถ้าเราใช้บัตรเครดิตวันที่ 10 (เดือน 8) รายการจะขึ้นใบแจ้งยอดของเดือนต่อไป (เดือน 9) เราจึงรอชำระคืนวันที่ 24 เดือนถัดไป(เดือน 9) นั่นคือเราได้ระยะปลอดดอกเบี้ยถึง 44 วัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ใช้บัตรเครดิตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีวินัยที่จะชำระเงินให้ตรงตามกำหนดหรืออาจจะชำระเพียงบางส่วนเท่านั้น   จึงทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากช่วงระยะเวลาปลดดอกเบี้ย  ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง  แม้บางท่านจะเลือกชำระแบบขั้นต่ำหากพิจารณาดีๆ เรายังต้องเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราที่ค่อนข้างสูงอยู่ดี  เนื่องจากฐานคำนวณดอกเบี้ย  ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดเต็มที่เราได้ใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการ  และคำนวณดอกเบี้ยจากส่วนที่เรายังคงค้างชำระอีก หรือ หากมีการค้างชำระจากงวดก่อนๆก็คิด ดอกเบี้ยที่ค้างจากงวดก่อนด้วย  กล่าวคือ  ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยที่ค้างจากงวดก่อน + ดอกเบี้ยตอนที่เราใช้บัตรเครดิต(ตนที่รูดบัตรเครดิต) + ดอกเบี้ยเงินต้นที่ค้าง   จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตมีอัตราค่อนข้างสูง   วิธีแก้คือ ท่านที่คิดจะสมัครบัตรเครดิตต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า  มีวินัยในการชำระเงินให้กับธนาคารตรงตามกำหนดหรือไม่   หากท่านมีวินัยในการชำระเงินให้กับธนาคารท่านก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้บัตรเครดิตอย่างคุ้มค่า

 

                

Location

Hot line

Tel : +662 171 7617

Fax: +662 171 7615

 36/65 RK Biz Center, Motorway Road, Klongsongtonnoon, Lad Krabang, Bangkok 10520