Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel
  • High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยบริการที่ซื่อสัตย์และคุณภาพเป็นเลิศ

  • Corporate & Commercial Advisory Services

    Corporate & Commercial Advisory Services

    บริการที่ปรึกษาสำหรับองค์กรและการพาณิชย์

  • IT-Enabled case/matter management process

    IT-Enabled case/matter management process

    ระบบการทำงานที่ทันสมัย โดยการนำเอาระบบ IT มาช่วยบริหารคดี

  • Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวสำหรับผู้บริหาร หรือที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว

  • Business Consulting & Educational Services

    Business Consulting & Educational Services

    บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และ การฝึกอบรมสัมนา

  • More than 20 alliances across the globe

    More than 20 alliances across the globe

    การมีพันธมิตรที่พร้อมให้บริการมากกว่า 20 ประเทศ

อายุความฟ้องคดีมรดก

เขียนโดย คุณสุภาวิณี  เชี่ยวชาญ  บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด โทร 02-1717617 

 

          “อายุความคือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้อง หรือสิทธิร้องทุกข์  ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องเรียกร้องเอาภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น อายุความผิดสัญญา กฎหมายกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้  หรือ กรณีอายุความละเมิด กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องชดใช้ค่าเสียหาย หรือ ภายใน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด (จะรู้ตัวผู้ทำละเมิดเมื่อใดก็ได้) ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า เมื่อเรื่องใดที่กฎหมายกำหนดอายุความไว้ ผู้สิทธิหรือผู้มีส่วนได้เสียจะต้องใช้สิทธิภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเช่นว่านั้นอันยกขึ้นอ้างอีกมิได้ ซึ่งเรียกว่า "การขาดอายุความ" เช่น สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ คดีขาดอายุความ หนี้ขาดอายุความ เป็นต้น

                อายุความมรดกก็เช่นเดียวกัน กฎหมายได้กำหนดอายุความในสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในระหว่างทายาทของผู้ตาย หรือสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับหนี้สินที่ผู้ตายเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดอายุไว้ในมาตรา 1754  ว่า

                วรรคหนึ่ง  ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

วรรคสอง  ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 189 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดก มีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

วรรคท้าย ถึงอย่าไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆนั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

      แม้สิทธิเรียกร้องอายุความจะครบกำหนดแล้ว   กฎหมายก็มิได้ห้ามฟ้องคดีมรดกอย่างเด็ดขาด ผู้มีสิทธิเรียกร้องยังสามารถฟ้องคดีมรดกได้  เพียงแต่ว่า หากมีคู่กรณี (เช่น บุคคลซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือผู้จัดการมรดก เป็นต้น ) อ้างเหตุที่สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความนั้นขึ้นมาต่อสู้ สิทธิเรียกร้องนั้นย่อมเสียไปตามกฎหมาย

เวลาที่เริ่มนับอายุความฟ้องคดีมรดก กฎหมายกำหนดเอาเวลาที่เจ้ามรดกตายมาเป็นเวลาที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้อง เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก”  ดังนั้น เวลาที่ทายาทรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกย่อมเป็นหลักใหญ่ในการที่ทายาทจะใช้สิทธิ   หากทายาทไม่รู้ถึงห้วงระยะเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และทายาทมารู้ภายหลัง  ถ้าทายาทไม่ยกข้อที่ตนเพิ่งรู้ในภายหลังขึ้นอ้างย่อมหมายความว่าทายาทนั้นรู้อยู่แล้วตั้งแต่เจ้ามรดกตาย ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงได้กำหนดเอาเวลาที่เจ้ามรดกตายมาเป็นเวลาที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ไว้ด้วย เมื่อทายาทไม่อ้างว่าตนเพิ่งรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกภายหลังที่เจ้ามรดกตายในเบื้องต้นก็ต้องถือว่าทายาทนั้นได้รู้แล้วตั้งแต่เจ้ามรดกตาย และอายุความก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่นั้น ดังนั้นในกรณีที่ทายาทถือว่าตนยังมีสิทธิฟ้องคดีมรดกได้ภายหลังที่เจ้ามรดกได้ภายหนึ่งปีนับตั้งแต่เจ้ามรดกตาย ก็เป็นหน้าที่ของทายาทนั้นจะต้องกล่าวอ้างเป็นประเด็นเข้ามาว่าตนเพิ่งรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเมื่อใด ซึ่งนับแต่เวลานั้นถึงวันฟ้องยังไม่เกินหนึ่งปี

***  ข้อควรระวัง   ข้ออ้างของทายาทที่ว่า เพิ่งรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกจะรับฟังได้หรือไม่นั้น ศาลจะพิเคราะห์จากพฤติการณ์ที่มีเหตุผลทำให้เชื่อได้ว่าทายาทน่าจะได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเป็นกรณีๆไป เช่น ทายาทอยู่คนละจังหวัดกับเจ้ามรดก แต่มีผู้ส่งข่าวการตายของเจ้ามรดกไปให้ทายาททราบทางไปรษณีย์ คนในบ้างของทายาทได้รับจดหมายไว้แล้ว ทายาทจะอ้างว่าตนไม่ทราบเพราะลืมเปิดจดหมายดู เช่นนี้ย่อมรับฟังไม่ได้ หรือ ทายาทมีบ้านอยู่ติดกันกับบ้านที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทายาทจะอ้างว่าตนเพิ่งรู้หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วหนึ่งเดือน เพราะเมื่อเจ้ามรดกตายตนนอนป่วยเป็นไข้อยู่ไม่มีใครบอกให้ทราบ เช่นนี้ย่อมรับฟังไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งในคราวต่อไปจะกล่าวถึงอายุความสิทธิเรียกร้องตามข้อกำหนดพินัยกรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

อ้างอิงจากข้อมูลจากบทความเรื่องอายุความเกี่ยวกับมรดก ของ เพียบ  หุตางกูร

Location

Hot line

Tel : +662 171 7617

Fax: +662 171 7615

 36/65 RK Biz Center, Motorway Road, Klongsongtonnoon, Lad Krabang, Bangkok 10520