Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel
  • High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยบริการที่ซื่อสัตย์และคุณภาพเป็นเลิศ

  • Corporate & Commercial Advisory Services

    Corporate & Commercial Advisory Services

    บริการที่ปรึกษาสำหรับองค์กรและการพาณิชย์

  • IT-Enabled case/matter management process

    IT-Enabled case/matter management process

    ระบบการทำงานที่ทันสมัย โดยการนำเอาระบบ IT มาช่วยบริหารคดี

  • Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวสำหรับผู้บริหาร หรือที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว

  • Business Consulting & Educational Services

    Business Consulting & Educational Services

    บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และ การฝึกอบรมสัมนา

  • More than 20 alliances across the globe

    More than 20 alliances across the globe

    การมีพันธมิตรที่พร้อมให้บริการมากกว่า 20 ประเทศ

ผลของการเป็นคนสาบสูญ

บทความโดยทนายปนัดดา พะนะชัย (บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด

Tel: 021717617, 091 569 5655, LINE ID: eltcorp)

            ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 62 บัญญัติว่า ” บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ใน มาตรา 61

ถ้าเป็นการตายในกรณีธรรมดาตาม ปพพ.มาตรา 15 นั้น การมีสถานะในครอบครัวสิ้นสุดทุกอย่างไม่ว่าการจะเป็นสามีภรรยา การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ หรือเรื่องทรัพย์สิน การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิ้นสุดลง มรดกตกแก่ทายาท แต่ในกรณีถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นสถานะในครอบครัวและทรัพย์สินมีผลดังนี้

           เรื่องครอบครัว

            ในเรื่องการเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1566 บัญญัติว่า

“ บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองจะอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

            จะเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้าบิดาตายโดยผลของกฎหมายจะหมายถึงตายตามอนุมาตรา(1) หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ถ้าบิดาตายธรรมดาอำนาจปกครองบุตรจะตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว ในอนุมาตรา (2) บิดาเป็นผู้ไม่อยู่ อำนาจปกครองก็จะตกอยู่แก่มารดาแต่ผู้เดียว แล้วถ้าบิดาเป็นคนสาบสูญอำนาจปกครองควรจะตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว

           เรื่องการสมรส

            ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1501 บัญญัติว่า  “ การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน ถ้าสามีตายธรรมดา การสมรสสิ้นสุด แต่ถ้าสามีถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญการสมรสจะสิ้นสุดหรือไม่นั้น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องพิเศษ เพราะการสาบสูญไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาสิ้นสุดเพราะ มาตรา 1501 บัญญัติว่า “ การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน ” ส่วนการสาบสูญนั้นไม่ได้มีบัญญัติไว้ว่าให้การสมรสสิ้นสุดลง ( ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายความรวมถึงการสาบสูญด้วยกฎหมายต้องระบุไว้ให้ชัด กฎหมายคงเล็งเห็นว่าถ้าตายธรรมดา คู่สมรสย่อมไม่อาจกลับมาเป็นสามีภรรยากันได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าสาบสูญเขาอาจจะกลับมาวันใดวันหนึ่งได้ จึงไม่ได้บัญญัติเรื่องการสาบสูญไว้ให้การสมรสสิ้นสุดลง)

            แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กำหนดไว้ให้การสาบสูญเป็นเหตุให้คู่สมรสฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังนี้  (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็น เวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

            แสดงว่าถ้าเราอยากต้องการขาดจากการสมรส เช่น ต้องการสมรสใหม่เราต้องฟ้องหย่าเสียก่อน เมื่อฟ้องหย่าแล้วศาลมีคำพิพากษาให้หย่า สามารถเอาคำพิพากษาไปจดทะเบียนหย่า ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก่อนการสมรสครั้งหลังจะกลายเป็นสมรสซ้อนทันที

             เรื่องมรดก

            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1602 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า “ เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

            ดังนั้น ในกรณีกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินของผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญจะสิ้นสุดและมรดกตกแก่ทายาททันที อาจจะมีผู้สงสัยว่าถ้าคนสาบสูญมีคู่สมรสและไม่ได้หย่าขาดจากกันจะแบ่งมรดกได้หรือไม่  ถ้าคนสาบสูญมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและมีคู่สมรส เมื่อคู่สมรสไม่ยอมแบ่งมรดกโดยอ้างว่ายังไม่ได้หย่าขาดกับสามีและยังไม่รู้ว่าส่วนไหนเป็นมรดกของผู้ตาย พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของคนสาบสูญสามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาได้และส่วนใดเป็นของคนสาบสูญ ส่วนนั้นจะเป็นมรดกตกแก่ทายาททันที

 

            การร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งสาบสูญ

            มาตรา 63 “ เมื่อบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นเอง หรือมีผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงาน อัยการร้องขอต่อศาล และพิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 62 ก็ดี ให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้น แต่การถอนคำสั่งนี้ ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายอันได้ทำไปโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาถอนคำสั่งนั้น

         บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไปเพราะศาลสั่งถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม “

          เหตุแห่งการร้องขอ

1.   บุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือ

2.   ตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 62

           ผู้มีสิทธิร้องขอ

1. ผู้สาบสูญนั้นเอง

2. ผู้มีส่วนได้เสีย ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนที่ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

3. พนักงานอัยการ

 

            ปัญหาว่า เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญดังกล่าวแล้ว จะมีผลกระทบอย่างไรต่อบุคคลอื่นซึ่งได้ทรัพย์สินนั้นมาภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนและบุคคลผู้ถูกคำสั่งให้สาบสูญนั้นเองจะทำอย่างไร หากกลับมาแล้วไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่อีกเพราะได้แบ่งปันกันไปเสียหมดแล้ว ในเรื่องนี้วรรคท้ายของมาตรานี้บัญญัติทางแก้ไว้ว่า ให้บุคคลผู้ได้ทรัพย์ไปนั้นต้องคืนทรัพย์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ เหลือเท่าใดคือเท่านั้น ไม่เหลือไม่ต้องคืน ถ้าได้ขายทรัพย์ไปได้เงินมาแทนต้องคืนเงิน ถ้านำเงินไปซื้อทรัพย์ใดต้องนำทรัพย์ซึ่งได้มาแทนนั้นมาคืน ไว้ถ้ามีโอกาสเราจะมาพูดคุยกันในเรื่องของหลักลาภมิควรได้นะคะ

           หากท่านมีปัญหาต้องการสอบถามเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อทีมงานเราได้ที่ บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด โทร: 02 1717617, 091 569 5655, LINE ID: eltcorp

การสาบสูญ 

เขียนโดย ทนายปนัดดา พะนะชัย  บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด Tel: 02 1717617  LINE ID: eltcorp

 

จากกรณีที่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้มีข่าวเกี่ยวกับการหายไปอย่างลึกลับของเครื่องบินของสายการบิน อุบัติเหตุทางเครื่องบิน อุบัติเหุตทางเรือเป็นต้น ซึ่งในกรณีที่มีเหตุการณ์พิเศษลักษณะนี้เกิดขึ้นแล้วไม่มีใครทราบได้ว่าบุคคลที่เรารู้จัก คนใกล้ตัวเรานั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นตายร้ายดีอย่างไร กฎหมายมีการบัญญัติเรื่องเกี่ยวกับกรณีลักษณะนี้ไว้อย่างไรกรณีที่รอเท่าไรก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าคนดังกล่าวยังอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้ว เพราะการที่บุคคลใดๆหายสาบสูญไปนั้น ย่อมมีสิ่งที่เป็นประเด็นทางกฎหมายเกิดขึ้นแน่นอน เช่นเรื่องของการจัดการกองทรัพย์สินต่างๆของบุคคลนั้นๆ สถานะการสมรสกับคู่สมรสฝ่ายที่ยังอยู่เป็นต้น 

ไม่เพียงแต่ในกรณีเหตุการณ์พิเศษ ในกรณีที่บุคคลใดๆหายไปจากภูมิลำเนาของตนเองโดยที่ไม่มีใครทราบหรือติดต่อหรือพบเห็นเลย ระยะเวลานานเท่าใดที่กฎหมายจะอนุญาตให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาจัดการกองทรัพย์สินได้ กฎหมายมีการกำหนดไว้อย่างไรหากบุคคลดังกล่าวหายสาบสูญไปแล้วต้องหายไปนานเท่าใด

วันนี้เราจะพาท่านไปทำความรู้จักกับกฎหมายแพ่งว่าด้วยเรื่องของบุคคลเกี่ยวกับเรื่องการสาบสูญนะคะ 

มาตรา 61 ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

          ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

          (1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงครามและ หายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

          (2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป

          (3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไปถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

            ผู้ไม่อยู่ที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้ว กฎหมายให้สันนิษฐานว่าถึงแก่ความตาย เป็นกรณีถึงแก่ความตายโดยผลของกฎหมาย หลักเกณฑ์ที่จะขอให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญได้นั้นต้องดูตามมาตรา 61 ดังนี้

            1. ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่

            2. ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

            3. เป็นเวลา 5 ปี (เป็นการขอในกรณีธรรมดา)

             การไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ โดยไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร หมายความว่า บุคคลนั้นหายไปจากบ้านเฉย ๆ เช่น บอกว่าจะไปทำงานที่ต่างจังหวัด แล้วไม่กลับมาอีกเลย หรือ หนีออกจากบ้านไปเฉย ๆ แล้วไม่กลับมาอีกเลย และ ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ คือ ไม่มีใครทราบข่าวคราว ไม่เคยติดต่อญาติเลย ไม่มีใครพบเห็นอีกเลย และ การหายไปนั้นได้หายไปเป็นเวลา 5 ปี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งว่าบุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญได้ เมื่อศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้ว กฎหมายให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย สิทธิหน้าที่ของบุคคลนั้นย่อมระงับลง ทรัพย์สินของบุคคลนั้นตกแก่ทายาททันทีตามาตรา 1602 การที่กฎหมายใช้ คำว่า “สันนิษฐาน” นี้ หมายความว่า เป็นแต่เพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นเพราะความหวังว่าจะกลับมานั้นแทบไม่มี แต่หากกลับมาก็สามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งว่าเขาเป็นคนสาบสูญได้

             ส่วนการขอในกรณีพิเศษนั้น คือหากมีเหตุตาม (1) – (3) ระยะเวลา 5 ปีจะลดเหลือเพียง 2 ปี ผู้มีสิทธิร้องขอคือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการเหมือนกรณีการยื่นขอกรณีธรรมดา

            (1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงครามและ หายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว           เช่น เอเป็นทหารซึ่งประเทศไทยส่งไปร่วมรบที่ประเทศติมอร์ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2555 การรบสิ้นสุดในวันที่ 25 ธันวาคม 2555 จนกระทั่งบัดนี้เอไม่กลับมาประเทศไทยอีกเลย และไม่มีผู้ใดพบศพ (ถือว่าหายไปเพราะถ้าพบศพก็ไม่หาย) ดังนั้นวันแรกที่จะเกิดสิทธิในการร้องขอให้เอเป็นบุคคลสาบสูญได้คือวันที่ 25 ธันวาคม 2557

            (2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป           เช่น เอขึ้นเครื่องบินเดินทางไปมาเลเซีย ในวันที่ 15 ธันวาคม 2555 เครื่องบินตกวันนั้นวันแรกที่จะขอให้เอเป็นคนสาบสูญได้คือวันที่ 15 ธันวาคม 2557 แต่ถ้าเหตุภยันตรายนั้นคงมีต่อเนื่อง เช่น วันที่ 15 ธันวาคม 2555 เอล่องเรือออกทะเลแล้วเกิดพายุ ในวันที่ 16 ทางชายฝั่งไม่ได้รับสัญญาณจากเรือ วันที่ 17 พายุสงบ วันที่เริ่มนับคือวันที่ไม่ได้รับสัญญาณจากเรือ ดังนั้นวันที่จะร้องได้คือวันที่ 16 ธันวาคม 2555 แต่ถ้าไม่มีการตรวจสัญญาณเลยต้องรอจนพายุสงบแล้วไม่พบเรือหรือไม่ติดต่อกลับมาอีก วันแรกจะเป็นวันที่               17 ธันวาคม 2555 แล้วแต่ว่าเราไม่สามารถติดต่อบุคคลนั้นได้ในวันใด หรือไม่สามารถทราบข่าวคราวของเขาในวันใด

            (3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไปถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น เช่น วันที่15 ธันวาคม 2555 นายเอเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น ญาตินายเอทราบว่านายเอไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วจะกลับมาหลังปีใหม่ ปรากฏว่าในวันที่        26 ธันวาคม 2555 เกิดคลื่นยักษ์ซินามิขึ้นที่ญี่ปุ่น หลังเกิดเหตุการณ์ญาติออกตามหาแต่ไม่พบนายเอ การนับระยะเวลาจะต่างจากผู้ไม่อยู่เพราะไม่ได้นับวันไป แต่นับวันที่ภยันตรายได้ผ่านพ้นไป เมื่อภยันตรายผ่านพ้นไปในวันที่ 26 ธันวาคม จะร้องขอให้เป็นคนสาบสูญได้ก็ต่อเมื่อถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2557

            ส่วนผู้มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องต่อศาลได้นั้น คือ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากความตายของผู้สาบสูญเท่านั้นที่จะมีสิทธิขอได้ เช่น ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ทายาทโดยพินัยกรรม ส่วนเจ้าหนี้นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียในประโยชน์ระหว่างมีชีวิตไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในประโยชน์อันเกิดจากความตายจะร้องขอให้นายเอเป็นคนสาบสูญไม่ได้

             หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อทางทีมงานได้ที่ 02 1717617 หรือ LINE ID: eltcorp นะคะ 

 

 

 

 

Location

Hot line

Tel : +662 171 7617

Fax: +662 171 7615

 36/65 RK Biz Center, Motorway Road, Klongsongtonnoon, Lad Krabang, Bangkok 10520