Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel
  • High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยบริการที่ซื่อสัตย์และคุณภาพเป็นเลิศ

  • Corporate & Commercial Advisory Services

    Corporate & Commercial Advisory Services

    บริการที่ปรึกษาสำหรับองค์กรและการพาณิชย์

  • IT-Enabled case/matter management process

    IT-Enabled case/matter management process

    ระบบการทำงานที่ทันสมัย โดยการนำเอาระบบ IT มาช่วยบริหารคดี

  • Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวสำหรับผู้บริหาร หรือที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว

  • Business Consulting & Educational Services

    Business Consulting & Educational Services

    บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และ การฝึกอบรมสัมนา

  • More than 20 alliances across the globe

    More than 20 alliances across the globe

    การมีพันธมิตรที่พร้อมให้บริการมากกว่า 20 ประเทศ

คนสาบสูญ - ผลของการเป็นคนสาบสูญ ตอนที่ 2

คนสาบสูญ ตอนที่ 2 (Photo Credit: www.ibtimes.com) คนสาบสูญ ตอนที่ 2 (Photo Credit: www.ibtimes.com) Photo Credit: www.ibtimes.com

ผลของการเป็นคนสาบสูญ

บทความโดยทนายปนัดดา พะนะชัย (บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด

Tel: 021717617, 091 569 5655, LINE ID: eltcorp)

            ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 62 บัญญัติว่า ” บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ใน มาตรา 61

ถ้าเป็นการตายในกรณีธรรมดาตาม ปพพ.มาตรา 15 นั้น การมีสถานะในครอบครัวสิ้นสุดทุกอย่างไม่ว่าการจะเป็นสามีภรรยา การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ หรือเรื่องทรัพย์สิน การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิ้นสุดลง มรดกตกแก่ทายาท แต่ในกรณีถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นสถานะในครอบครัวและทรัพย์สินมีผลดังนี้

           เรื่องครอบครัว

            ในเรื่องการเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1566 บัญญัติว่า

“ บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองจะอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

            จะเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้าบิดาตายโดยผลของกฎหมายจะหมายถึงตายตามอนุมาตรา(1) หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ถ้าบิดาตายธรรมดาอำนาจปกครองบุตรจะตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว ในอนุมาตรา (2) บิดาเป็นผู้ไม่อยู่ อำนาจปกครองก็จะตกอยู่แก่มารดาแต่ผู้เดียว แล้วถ้าบิดาเป็นคนสาบสูญอำนาจปกครองควรจะตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว

           เรื่องการสมรส

            ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1501 บัญญัติว่า  “ การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน ถ้าสามีตายธรรมดา การสมรสสิ้นสุด แต่ถ้าสามีถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญการสมรสจะสิ้นสุดหรือไม่นั้น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องพิเศษ เพราะการสาบสูญไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาสิ้นสุดเพราะ มาตรา 1501 บัญญัติว่า “ การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน ” ส่วนการสาบสูญนั้นไม่ได้มีบัญญัติไว้ว่าให้การสมรสสิ้นสุดลง ( ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายความรวมถึงการสาบสูญด้วยกฎหมายต้องระบุไว้ให้ชัด กฎหมายคงเล็งเห็นว่าถ้าตายธรรมดา คู่สมรสย่อมไม่อาจกลับมาเป็นสามีภรรยากันได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าสาบสูญเขาอาจจะกลับมาวันใดวันหนึ่งได้ จึงไม่ได้บัญญัติเรื่องการสาบสูญไว้ให้การสมรสสิ้นสุดลง)

            แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กำหนดไว้ให้การสาบสูญเป็นเหตุให้คู่สมรสฟ้องหย่าได้ ตามมาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังนี้  (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็น เวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

            แสดงว่าถ้าเราอยากต้องการขาดจากการสมรส เช่น ต้องการสมรสใหม่เราต้องฟ้องหย่าเสียก่อน เมื่อฟ้องหย่าแล้วศาลมีคำพิพากษาให้หย่า สามารถเอาคำพิพากษาไปจดทะเบียนหย่า ถ้าไม่ทำเช่นนี้ก่อนการสมรสครั้งหลังจะกลายเป็นสมรสซ้อนทันที

             เรื่องมรดก

            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1602 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า “ เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

            ดังนั้น ในกรณีกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินของผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญจะสิ้นสุดและมรดกตกแก่ทายาททันที อาจจะมีผู้สงสัยว่าถ้าคนสาบสูญมีคู่สมรสและไม่ได้หย่าขาดจากกันจะแบ่งมรดกได้หรือไม่  ถ้าคนสาบสูญมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและมีคู่สมรส เมื่อคู่สมรสไม่ยอมแบ่งมรดกโดยอ้างว่ายังไม่ได้หย่าขาดกับสามีและยังไม่รู้ว่าส่วนไหนเป็นมรดกของผู้ตาย พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของคนสาบสูญสามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาได้และส่วนใดเป็นของคนสาบสูญ ส่วนนั้นจะเป็นมรดกตกแก่ทายาททันที

 

            การร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งสาบสูญ

            มาตรา 63 “ เมื่อบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นเอง หรือมีผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงาน อัยการร้องขอต่อศาล และพิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี หรือว่าตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 62 ก็ดี ให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้น แต่การถอนคำสั่งนี้ ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายอันได้ทำไปโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาถอนคำสั่งนั้น

         บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไปเพราะศาลสั่งถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม “

          เหตุแห่งการร้องขอ

1.   บุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือ

2.   ตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 62

           ผู้มีสิทธิร้องขอ

1. ผู้สาบสูญนั้นเอง

2. ผู้มีส่วนได้เสีย ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนที่ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

3. พนักงานอัยการ

 

            ปัญหาว่า เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญดังกล่าวแล้ว จะมีผลกระทบอย่างไรต่อบุคคลอื่นซึ่งได้ทรัพย์สินนั้นมาภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนและบุคคลผู้ถูกคำสั่งให้สาบสูญนั้นเองจะทำอย่างไร หากกลับมาแล้วไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่อีกเพราะได้แบ่งปันกันไปเสียหมดแล้ว ในเรื่องนี้วรรคท้ายของมาตรานี้บัญญัติทางแก้ไว้ว่า ให้บุคคลผู้ได้ทรัพย์ไปนั้นต้องคืนทรัพย์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ เหลือเท่าใดคือเท่านั้น ไม่เหลือไม่ต้องคืน ถ้าได้ขายทรัพย์ไปได้เงินมาแทนต้องคืนเงิน ถ้านำเงินไปซื้อทรัพย์ใดต้องนำทรัพย์ซึ่งได้มาแทนนั้นมาคืน ไว้ถ้ามีโอกาสเราจะมาพูดคุยกันในเรื่องของหลักลาภมิควรได้นะคะ

           หากท่านมีปัญหาต้องการสอบถามเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อทีมงานเราได้ที่ บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด โทร: 02 1717617, 091 569 5655, LINE ID: eltcorp

Location

Hot line

Tel : +662 171 7617

Fax: +662 171 7615

 36/65 RK Biz Center, Motorway Road, Klongsongtonnoon, Lad Krabang, Bangkok 10520