Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel
  • High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยบริการที่ซื่อสัตย์และคุณภาพเป็นเลิศ

  • Corporate & Commercial Advisory Services

    Corporate & Commercial Advisory Services

    บริการที่ปรึกษาสำหรับองค์กรและการพาณิชย์

  • IT-Enabled case/matter management process

    IT-Enabled case/matter management process

    ระบบการทำงานที่ทันสมัย โดยการนำเอาระบบ IT มาช่วยบริหารคดี

  • Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวสำหรับผู้บริหาร หรือที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว

  • Business Consulting & Educational Services

    Business Consulting & Educational Services

    บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และ การฝึกอบรมสัมนา

  • More than 20 alliances across the globe

    More than 20 alliances across the globe

    การมีพันธมิตรที่พร้อมให้บริการมากกว่า 20 ประเทศ

ความรู้กฎหมายต้อนรับวันเด็ก - เด็กมีสิทธิทางกฎหมายเมื่อใด

ความรู้กฎหมายต้อนรับวันเด็ก - เด็กมีสิทธิทางกฎหมายเมื่อใด

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม 2558 เขียนโดย บริษัท เอนไลเทิน คอร์ปเรชั่น จำกัด (Enlighten Corporation) - Tel: 091 569 5655 LINE ID: eltcorp

 

ทุกๆวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกๆปีเป็นวันเด็กแห่งชาติของประเทศไทย เนื่องในโอกาสของวันเด็กของปี 2558 นี้ทางทีมงานจึงขอนำเสนอกฏหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กกันสักนิด 

คำถาม: เด็กเริ่มมีสิทธิ์ตั้งแต่เมื่อใด ในขณะที่มารดาตั้งครรภ์ทารกอยู่นั้น เด็กในครรภ์มารดามีสิทธิตามกฎหมายหรือยัง ตัวอย่างเช่น หากมีคนพยายามทำร้ายมารดาและทารกในครรภ์นั้น มารดาและทารกในครรภ์จะมีสิทธิในการฟ้องร้องให้ผู้กระทำความผิดรับผิดสำหรับการทำร้ายร่างกายของคน 2 คนได้หรือไม่ (มารดาและเด็กในครรภ์)

จากคำถามข้างต้น เราก็จะมาดูกันว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นได้บัญญัติไว้ว่า "สภาพบุคคลย่อมเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย" ถ้าวิเคราะห์กันแบบง่ายๆก่อนๆก็คือทารกในครรภ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นคนหรือมีสภาพบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นหากมีการทำร้ายทารกในครรภ์จนเสียชีวิตกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น หากแต่เป็นความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกซึ่งก็ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาเช่นกัน

คราวนี้ก็จะมีคำถามต่อไปว่าแล้ว"การคลอดและอยู่รอดเป็นทารกนั้น" ต้องคลอดอย่างไรจึงจะถือว่ามีสภาพบุคคลตามกฎหมายของไทย หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าทำไมผู้เขียนจึงเน้นหรือย้ำกับความสำคัญของการเริ่มมีสภาพบุคคล เพราะสิทธิต่างๆตามกฎหมายนั้นจะมีได้ก็ต่อเมื่อเด็กนั้นมีสภาพบุคคล หากเด็กไม่มีสภาพบุคคลแล้วไซร้ ก็จะหามีสิทธิตามกฎหมายได้ไม่ เช่น สิทธิในการรับมรดก เป็นต้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยนั้นได้วางหลักไว้ว่า การคลอดนั้นต้องเป็นการคลอดออกมาทั้งหมด มิใช่เพียงบางส่วน ถึงแม้ว่าในทางการแพทย์เมื่อหัวเด็กผ่านพ้นช่องคลอดออกมาแล้วนั้น และเด็กร้องแล้วแต่ถ้าตัวเด็กยังไม่ออกมาทั้งหมดก็ถือว่ายังไม่มีสภาพบุคคล ภาษาอังกฤษของกฎหมายเขียนว่า "Personality begins with the full completion of birth as a living child and ends with death" 

เรื่องของการคลอดออกมาทั้งตัวจนพ้นจากมารดาแล้วนั้นเป็นสาระสำคัญมากในเรื่องของเด็กคนนั้นว่าจะมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิ เช่น หากเด็กคลอดออกมายังไม่พ้นช่องคลอดทั้งตัว แต่ด้วยความประมาทของแพทย์ทำให้เด็กเสียชีวิตคาช่องคลอดของมารดาเช่นนี้ก็ถือว่าเด็กยังไม่มีสภาพบุคคล แพทย์จะไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น หากแต่เป็นความผิดทำให้หญิงแท้งลูก ซึ่งทารกนั้นก็จะยังไม่มีสภาพบุคคลแม้ร้องแล้วก็จะไม่มีสิทธิในการรับมรดกเลย ซึ่งต่างกับกรณีว่าทารกได้คลอดออกมาผ่านพ้นทั้งตัว ร้องเสียงดัง แล้วปรากฎว่า 1 นาทีหลังจากนั้นเด็กเสียชีวิต เช่นนี้ทารกคนนี้ถือว่ามีสภาพบุคคลแล้ว และหากความตายของเด็กเกิดจากการความประมาทเลินเล่อของแพทย์ หรือทีมแพทย์ก็จะถือว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นแล้ว เพราะเด็กมีสภาพบุคคลตามกฎหมายแล้ว 

หากไปพิจารณาถึงกฎหมายมรดกการที่เด็กมีสภาพบุคคลตามกฎหมายมีความสำคัญเพราะเมื่อเกิดสภาพบุคคลแล้วเด็กก็จะมีสิทธิเช่น สิทธิในการรับมรดก ตัวอย่างเช่น เมื่อทารกเกิดมาได้ 3 วัน ปรากฎว่าบิดาของเด็กประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทารกคนนี้ก็จะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมของบิดาและมีสิทธิในการรับมรดกของชายผู้เป็นบิดา ซึ่งก็จะมีคำถามว่าหากหญิงที่เป็นมารดากำลังท้องอยู่แล้วกำหนดคลอดอีก 2 เดือน ปรากฎว่าบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้รับอุบัติเหตุจนเสียชีวิต เมื่อทารกกำเนิดขึ้นมาแล้วนั้นจะมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาหรือไม่ ในกรณีนี้กฎหมายก็ได้มีการวางหลักไว้อย่างระมัดระวังว่า ในกรณีที่เป็นเด็กหรือทารกที่เกิดจากชายผู้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายภายใน 360 วันนับจากวันที่ชายผู้เป็นบิดาเสียชีวิตหากทารกดังกล่าวได้คลอดและอยู่รอดเป็นทารกก็จะมีสิทธิ์ได้รับมรดกของชายผู้เป็นบิดาเช่นเดียวกัน

ดังนั้นจะเห็นว่าเด็กหรือทารกนั้นมีความสามารถในการมีสิทธิหรือมีสิทธิตั้งแต่เริ่มมีสภาพบุคคลและสภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อมีการคลอดออกมาทั้งตัว (Full Completion of Birth) และอยู่รอดเป็นทารก เด็กหรือทารกก็จะมีสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดทันที เพียงแต่ว่าเนื่องจากเด็กหรือทารกยังไม่มีความสามารถในการคิดตัดสินใจในเรื่องต่างๆให้กับตัวเองโดยลำพัง กฎหมายจึงได้มีการบัญญัติไว้ในเรื่องของความสามารถในการใช้สิทธิของเด็กและผู้เยาว์ว่ามีความสามารถในการใช้สิทธิตามกฎหมายได้อย่างจำกัดเพื่อเป็นการปกป้องเด็กหรือผู้เยาว์จากการใช้อำนาจไม่ถูกต้อง จนกว่าผู้เยาว์นั้นจะบรรลุนิติภาวะ ซึ่งกฎหมายก็ได้มีการกำหนดวิธีการในการที่เด็กหรือผู้เยาว์จะใช้สิทธิของตนได้อย่างไรให้มีผลสมบูรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดด้วยเช่นกัน 

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Enlighten Corporation)

โทร: 091 569 5655 หรือ LINE ID: eltcorp 

 

Location

Hot line

Tel : +662 171 7617

Fax: +662 171 7615

 36/65 RK Biz Center, Motorway Road, Klongsongtonnoon, Lad Krabang, Bangkok 10520