Font Size

SCREEN

Profile

Layout

Menu Style

Cpanel
  • High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    High Customer Satisfaction with High Integrity & Quality of Services

    ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ด้วยบริการที่ซื่อสัตย์และคุณภาพเป็นเลิศ

  • Corporate & Commercial Advisory Services

    Corporate & Commercial Advisory Services

    บริการที่ปรึกษาสำหรับองค์กรและการพาณิชย์

  • IT-Enabled case/matter management process

    IT-Enabled case/matter management process

    ระบบการทำงานที่ทันสมัย โดยการนำเอาระบบ IT มาช่วยบริหารคดี

  • Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    Executive Legal Advisor or Personal Legal Advisor

    ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัวสำหรับผู้บริหาร หรือที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว

  • Business Consulting & Educational Services

    Business Consulting & Educational Services

    บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และ การฝึกอบรมสัมนา

  • More than 20 alliances across the globe

    More than 20 alliances across the globe

    การมีพันธมิตรที่พร้อมให้บริการมากกว่า 20 ประเทศ

ความรู้ทั่วเป็นเกี่ยวกับเช็ค ตอนที่ 1

บทความโดย ทนายชนิดา เมธาชวลิต – บริษัท เอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Tel: 02 1717617, 091 569 5655, LINE ID: eltcorp)

โดยทั่วไปคงเข้าใจกันว่า เช็คเป็นวิธีการชำระเงินอย่างหนึ่งโดยสั่งให้ธนาคารที่ตนเองมีบัญชีเงินฝากอยู่จ่ายเงินจากบัญชีนั้นให้แก่เจ้าหนี้โดยตรง  ตามปกติเมื่อท่านทำสัญญาเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารแล้ว ธนาคารจะออกเช็คเป็นสมุดให้กับท่าน โดยบนเช็คจะปรากฎชื่อธนาคารและสาขา มีชื่อของท่านพิมพ์อยู่บนเช็ค เมื่อจะใช้ท่านก็จะกรอกวันที่ จำนวนเงิน และชื่อผู้รับเงิน ลงไปในเช็ค ปิดท้ายด้วยการลงลายมือชื่อ จากนั้นก็ส่งมอบเช็คดังกล่าวให้ผู้รับเงินไป ผู้ที่ได้รับเช็คนั้นก็จะนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร เนื่องจากความสะดวกในการชำระหนี้ดังนี้เอง เช็คจึงมีผู้นิยมใช้กันมากในปัจจุบันโดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ และธนาคารต่างๆก็ต้องมีการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับเช็คอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามคนจำนวนมากยังไม่ทราบว่าเช็คในทางกฎหมายแล้วคืออะไร มีกฎหมายกำหนดวีธีการใช้เช็คอย่างไร ผู้รับเช็ค, ผู้สั่งจ่ายเช็ครวมถึงผู้สลักหลังเช็คและธนาคาร สิทธิหน้าที่ต่อกันอย่างไร จึงขอรวบรวมข้อสังเกตและข้อควรรู้เกี่ยวกับเช็ค ไว้ดังต่อๆไปนี้

 

เช็คคืออะไร

เช็ค ตามกฎหมายแล้วคืออะไร? ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์มาตรา987 ได้ให้นิยายไว้ดังนี้ อันว่าเช็คนั้นคือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน และมาตรา 988 ก็ได้บัญญัติว่า อันว่าเช็คนั้นต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ

 (1) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
 (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
 (3) ชื่อ หรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร
 (4) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
 (5) สถานที่ใช้เงิน
 (6) วันและสถานที่ออกเช็ค
 (7) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย 

จากคำนิยาม จะเห็นได้ว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า เช็คนั้นจะต้องเป็นตราสารที่พิมพ์ออกมาโดยธนาคาร เพียงแต่บอกว่า เป็นหนังสือตราสาร นั่นคือต้องเป็นลายลักษณอักษร และมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้ง 7 ข้อ เท่านั้น  ดังนั้น โดยทางทฤษฎี หากท่านมีบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารอยู่แล้ว (หรือบัญชีเงินฝากอื่นๆที่มีเงื่อนไขให้ถอนเงินจากบัญชีโดยใช้เช็คได้)  ท่านสามารถเขียนข้อความตามที่กำหนดทั้ง 7 ข้อข้างต้นลงในแผ่นกระดาษเปล่า แล้วลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายให้ถูกต้อง กระดาษแผ่นนั้นจะถือว่าเป็นเช็คที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผู้รับสามารถนำไปยื่นขอรับเงินตามเช็คจากธนาคารได้ และธนาคารมีหน้าที่ต้องใช้เงินตามนั้น

อย่างไรก็ตาม แม้ในทางกฎหมายจะเปิดช่องให้ทำได้ แต่ผู้รับเช็คจะเกิดปัญหายุ่งยากในทางปฎิบัติกล่าวคือ หากเช็คไม่ใช่แบบพิมพ์ของธนาคาร เจ้าหน้าที่ธนาคารจะปฎิเสธไม่รับเช็คนั้น เนื่องจากธนาคารมีความเสี่ยงว่าเช็คดังกล่าวอาจไม่ถูกต้อง และการมอบเงินให้ไปอาจทำให้ธนาคารและลูกค้าของธนาคารเสียหายได้ อีกทั้งในปัจจุบัน ในเวลาที่ท่านทำการเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารนั้น ธนาคารมักจะระบุในข้อสัญญาอย่างชัดเจนว่าต้องใช้เช็คที่ออกโดยธนาคารเท่านั้น ธนาคารจึงจะชำระเงินตามเช็คให้ เพื่อป้องกันไม่ให้ธนาคารต้องถูกฟ้องให้รับผิดจากการปฎิเสธ

ดังนี้ ในความเป็นจริงจึงไม่มีใครเขียนเช็คขึ้นใช้เอง และหากมีการทำขึ้นจริงผู้รับควรปฎิเสธไม่รับเช็คนั้น เพราะผู้รับสามารถทำได้ตามหลักการชำระหนี้ที่จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป แต่หากมีการใช้แบบเขียน/พิมพ์ขึ้นเองจริง แม้ธนาคารจะปฎิเสธไม่ยอมรับเช็คนั้น เช็คดังกล่าวก็ยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่ดี ท่านจึงนำเช็คดังกล่าวไปฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้ผู้ลงลายมือชื่อในเช็ครับผิดตามเช็คนั้นได้

 

สัปดาห์หน้า จะกล่าวถึงผลของข้อความต่างๆในเช็ค และจะทำอย่างไรเมื่อมีบางรายการในเช็คขาดหายไป หากท่านมีคำถามต้องการสอบถามเพิ่มเติมได้ที่บริษัท เอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด เบอร์ 02 1717617 หรือ LINE ID: eltcorp.com 

Location

Hot line

Tel : +662 171 7617

Fax: +662 171 7615

 36/65 RK Biz Center, Motorway Road, Klongsongtonnoon, Lad Krabang, Bangkok 10520