โครงสร้างความรับผิดทางอาญา (Structure of Crime)
โครงสร้างความรับผิดทางอาญา (ตอนที่ 1) - Structure of Crime (Episode 1)
โดย บริษัทเอนไลเทิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด Line ID: eltcorp
ทางผู้เขียนบทความนี้เชื่อว่าสมาชิกแฟนเพจหลายๆคนที่ไม่คุ้นเคยกับลักษณะของกฎหมายอาญานั้นบางครั้งก็ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกับการตัดสินไม่ส่งฟ้องอาญาของอัยการ หรือศาลพิพากษายกฟ้อง หรือศาลเห็นว่าไม่มีโทษ เป็นต้น ซึ่งก่อนที่จะตัดสินว่าใครสักคนนั้นต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ กฎหมายได้มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงสร้างความรับผิดของผู้ต้องสงสัยแต่ละรายในแต่ละความผิดไป โดยในการพิจารณาว่าบุคคลใดต้องรับผิดทางอาญาบ้างนั้น ในขั้นตอนแรกต้องพิจารณาว่าการกระทำที่เกิดขึ้นนั้น "ครบองค์ประกอบของความผิดทางอาญา" หรือไม่ซึ่งประกอบไปด้วย
1. มีการกระทำเกิดขึ้น
2. ครบองค์ประกอบภายนอกที่กฎหมายกำหนด อันได้แก่ มีผู้กระทำความผิด มีการกระทำความผิด และมีวัตถุแห่งการกระทำความผิด
3. ครบองค์ประกอบภายในหรือไม่ คือพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวมีเจตนาหรือไม่ เจตนาธรรมดา เจตนาพิเศษ หรือเจตนาโดยผลของกฎหมาย หรือเป็นการประมาท หรือไม่เจตนาไม่ประมาท เป็นต้น
4. ผลที่เกิดขึ้นนั้นสัมพันธ์กับการกระทำหรือไม่เราเรียกว่า Causation
การจะวินิจฉัยว่าการกระทำแต่ละครั้งนั้นต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ต้องทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของความผิดก่อน หลังจากที่ได้วิเคราะห์ทั้ง 4 ข้อย่อยแล้วนั้น ถ้า "การกระทำครบองค์ประกอบของความผิด" ก็ต้องมาพิจารณาต่อว่ามีเหตุยกเว้นความผิดหรือไม่ได้ เช่น การป้องกัน การได้รับความยินยอม
หากพิจารณาแล้วไม่มีเหตุยกเว้นความผิด ก็ต้องมาพิจารณาต่อว่ามีเหตุยกเว้นโทษหรืดไม่ ซึ่งหากมีเหตุยกเว้นโทษ เช่น การลักทรัพย์ของคู่สมรส เป็นต้น แต่ในกรณีไม่มีเหตุยกเว้นโทษแสดงว่าต้องรับโทษโดยจะทำการพิจารณาต่อว่ามีเหตุลดโทษหรือไม่ เช่น การยับยั้ง การกลับใจ เป็นต้น
ในครั้งถัดไป (ตอนที่ 2) ทางผู้เขียนจะขออธิบายความหมายของส่วนประกอบความรับผิดแต่ละรายการ